ช่วยเหลือภัยพิบัติฉุกเฉิน, กองทุนที่เป็นหัวใจสำคัญในการผลักดันหน่วยงานที่ทำงานเพื่อสังคมให้ดำเนินงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ด้วยการช่วยเหลือที่รวดเร็วในสภาวะฉุกเฉิน
ระดมทุนได้
฿10,841,661
2,273 givers
รายละเอียดกิจกรรม
Thailand Recovery Fund (Phase 2)
ภาพรวม (1 นาทีในการอ่าน)
STOP AIRBORNE หยุดติดเชื้อทางอากาศ ใส่หน้ากากกรองอากาศให้มิดชิด โครงการจัดส่งหน้ากากกรองอากาศให้กับเด็กและประชาชนทั่วไปโดย Socialgiver และไปรษณีย์ไทย partner ใจดีในการจัดส่ง ให้ทุกคน ๆ มีหน้ากากกรองอากาศคุณภาพดีที่ผลิตในประเทศไทยและผ่านการรับรองแล้วว่าสามารถ กรองอนุภาคละอองลอยที่มีขนาดเล็กถึง 0.1 ไมครอนได้อย่างน้อย 98% พร้อมตะขอเกี่ยวด้านหลังเพื่อให้หน้ากากกรองอากาศกระชับกับใบหน้ามากยิ่งขึ้น แถมตะขอยังใช้ซ้ำได้อีกด้วย!
หมายเหตุ: สงวนสิทธิ์ในการรับหน้ากากแบบไม่เสียค่าใช้จ่ายท่านละ 1 ชุด (10 ชิ้น)
-------------------------------------------------
ปัญหา
ความเข้าใจเรื่อง “ช่องทางหลัก” ในการแพร่ระบาดของโควิด-19 คือ “ช่องทางการแพร่ทางอากาศ” ยังไม่เป็นที่ประจักษ์ในสื่อสาธารณะมากนัก ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว “ละอองไวรัส” ที่มีขนาดน้อยกว่า 5 ไมครอนและลอยอยู่ในอากาศคือพาหนะชั้นเยี่ยมของเชื้อโควิด-19 ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้คนที่สูดหายใจเข้าไปติดเชื้อและนำไปแพร่สู่ผู้อื่น และเกิดเป็นคลัสเตอร์การระบาดตามสถานที่สาธารณะต่างๆ และทุกครั้งที่มีการติดเชื้อ เท่ากับมีความเสี่ยงที่จะเกิดผลในระยะยาวเช่นที่รู้จักกันในชื่อโควิดเรื้อรังหรือลองโควิด (Long Covid) ไม่ว่าจะได้รับวัคซีนหรือไม่ก็ตาม ในขณะที่ผู้ติดเชื้อที่มีอาการน้อยหรือไม่แสดงอาการอาจต้องเจอกับอาการอื่นๆ หรืออาการที่รุนแรงขึ้นในภายหลัง ส่วนผู้ที่มีอาการรุนแรงก็ยากหรือใช้เวลานานที่จะกลับมาฟื้นตัวได้เป็นปกติดังเดิม ผู้ที่ติดเชื้อยังมีโอกาสที่จะติดเชื้อซ้ำได้ภายในระยะเวลาเพียง 1-2 เดือนเท่านั้น
ภารกิจของ Thailand Recovery Fund Phase 2
โครงการ Thailand Recovery Fund “STOP AIRBORNE: หยุดติดเชื้อทางอากาศ ใส่หน้ากากกรองอากาศให้มิดชิด” เกิดขึ้นมาด้วยความร่วมมือของ Socialgiver และพันธมิตรอย่าง บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด เพื่อรณรงค์ให้คนไทยทั่วประเทศได้รู้จักและเลือกใช้ “หน้ากากกรองอากาศคุณภาพดี”
เพราะ “หน้ากากกรองอากาศคุณภาพดี” เป็นกุญแจสำคัญ ที่จะช่วยให้ป้องกันการติดเชื้อและการระบาดของโควิด-19 แต่ในปัจจุบันผู้คนยังนิยมใช้หน้ากากที่มีประสิทธิภาพในการกรองอนุภาคไวรัสที่มีขนาดน้อยกว่า 5 ไมครอนได้ไม่ดีพอ โดยเฉพาะหน้ากากอนามัยทางการแพทย์ และหน้ากากผ้า ซึ่งหน้ากากอนามัยทางการแพทย์ (Surgical Masks) มีประสิทธิภาพการกรองอนุภาคเฉลี่ยอยู่ที่ 50.50% และ 39.10% สำหรับหน้ากากผ้า ส่วนหน้ากากกรองอากาศ (Respirators) ตระกูล N95 และ KF94 ที่ไม่ได้มาตรฐานซึ่งวางขายอยู่ตามท้องตลาด มีประสิทธิภาพการกรองอนุภาคเฉลี่ยอยู่ที่ 72.21% แทนที่จะเป็น 94-99% ตามมาตรฐาน จึงทำให้ผู้สวมใส่ยังมีโอกาสหายใจรับเชื้อไวรัสโควิด-19 เข้าไปได้มากกว่าที่ควรจะเป็น เมื่ออยู่ในสถานที่เสี่ยงร่วมกันกับผู้ที่ติดเชื้อโควิด-19
เป้าหมายของ Thailand Recovery Fund Phase 2
หน้ากากกรองอากาศ มาตรฐาน TF98 สำหรับเด็ก 1 ล้านชิ้น (จัดส่งให้เด็ก 1 แสนคน)
ราคาโดยประมาณ 30 บาท/ชุด (1 ชุด = 10 ชิ้น)
เป้าหมายการระดมทุน 3,000,000 บาท
การสร้างความเปลี่ยนแปลงโดยคุณ
จำนวนเงินที่ได้รับจากการบริจาค ผ่านการซื้อ GiveCards หรือการบริจาคผ่านโครงการโดยตรง จะถูกนำไปจัดสรรในการจัดซื้ออุปกรณ์ที่จำเป็นต่อการรับมือกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส Covid-19 มาให้กับชุมชนเปราะบางและมีรายได้ต่ำ เพื่อช่วยลดปัญหาการแพร่กระจายของเชื้อไวรัส Covid-19
นอกเหนือจากนี้เงินบริจาคที่คงเหลือจะถูกสะสมไว้เพื่อเป็นกองทุนสำหรับการรับมือเหตุภัยพิบัติฉุกเฉินที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต
บัญชีธนาคาร
ชื่อบัญชี: มูลนิธิยุวพัฒน์ เพื่อโครงการ SOCIALGIVER
(Yuvabadhana Foundation for Socialgiver)
ธนาคาร: TTB
หมายเลขบัญชี 075-2-38338-0
กรุณาส่งหลักฐานการโอนเงินมาที่ Line: @Socialgiver
เราขอสงวนสิทธิ์การออกใบเสร็จเพื่อใช้ลดหย่อนภาษีสำหรับการบริจาค 100% ตั้งแต่ 500 บาทขึ้นไป เพื่อที่เราจะสามารถนำส่งเงินบริจาค 100% ให้โครงการเพื่อสังคมโดยไม่หักค่าใช้จ่าย
* ทาง Socialgiver ไม่ได้มีการหักค่าธรรมเนียมหรือคิดค่าบริการใด ๆ ทั้งสิ้น เงินบริจาคจะถูกส่งมอบไปยังโครงการเพื่อสังคม 100%
* ทุกการบริจาคบน Socialgiver สามารถลดหย่อนภาษีได้ 100% ซึ่งจะไม่รวมกับการสนับสนุนที่เกินขึ้นบนหน้า ช็อป** ของ Socialgiver (**การซื้อ GiveCard ของ Socialgiver)
-----------------------------------------------------------------------------------------------------------
Thailand Recovery Fund (Phase 1)
ปัญหา
โครงการ Thailand Recovery Fund กองทุนที่มุ่งเน้นระดมทุนเพื่อนำเงินสนับสนุนที่ได้ไปแก้ปัญหาและฟื้นฟูภัยพิบัติฉุกเฉินที่เกิดขึ้นในประเทศไทย ในช่วงที่สถานการณ์โควิด-19 ระบาด ทางโครงการฯทำงานเพื่อรับมือกับการแพร่ระบาดให้ทันท่วงที โดยมุ่งเน้นการให้ความรู้ประชาชนและมองหาวิธีแก้ไขสถานการณ์อย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด
ขณะนี้ทางโครงการฯ พยายามเน้นการลดปัญหาการแพร่กระจายของเชื้อโควิด-19 ด้วยการแจกจ่ายชุดตรวจ Rapid Antigen Test Kits (ATKs) ให้กับกลุ่มชุมชนเปราะบางและมีรายได้น้อยในกรุงเทพมหานคร โดยการทำงานในครั้งนี้ Socialgiver ได้รับความร่วมมือจากโรงพยาบาลรามาธิบดี (มหาวิทยาลัยมหิดล) กรมการแพทย์ (กระทรวงสาธารณสุข) มูลนิธิยุวพัฒน์ โครงการ Covid Relief Bangkok Thai Care และ คุณแนท อนิพรณ์ เฉลิมบูรณะวงศ์ (มิสยูนิเวิร์สไทยแลนด์ 2015) และ Zero Covid Thailand
โรงพยาบาลทั่วประเทศไทยนั้นต่างต้องทำงานกันอย่างเกินกำลังมาเป็นระยะเวลาหลายเดือน ทั้งรองรับผู้ป่วยติดเชื้อและตรวจหาเชื้อ แม้ว่าการตรวจแบบ PCR นั้นจะมีความแม่นยำสูง แต่นั่นก็หมาความว่าผู้ที่มีความเสี่ยงติดเชื้อนั้นจำเป็นต้องเดินทางไปยังจุดตรวจ เข้าแถว และรอผลตรวจเป็นระยะเวลา 1-2 วัน ซึ่งในช่วงระยะเวลานี้เองทำให้เกิดการแพร่ระบาดของเชื้อได้ ผ่านการสัมผัสผู้มีความเสี่ยงสูง
ในทางตรงกันข้ามนั้นการตรวจหาเชื้อด้วยชุดตรวจ Antigen Test Kit (ATK) นั้นสามารถทำได้ด้วยตัวเองที่บ้านได้บ่อยครั้งกว่าการตรวจแบบ PCR เพราะมีค่าใช้จ่ายที่ถูกกว่า นั่นหมายความว่าการตรวจด้วย ATK สามารถเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวันขอผู้คนได้ อีกสิ่งหนึ่งที่หลายๆคนอาจจะไม่รู้นั่นคือ การตรวจแบบ ATK นั้นแสดงผลบวกต่อเมื่อผู้ที่ติดเชื้อนั้นมีเชื้อมากเพียงพอจะแพร่ไปยังผู้อื่นได้ และอีกหนึ่งข้อดีนั่นก็คือความรวดเร็วซึ่งจะช่วยให้เราสามารถทราบความเสี่ยงได้เร็วและจำกัดการแพร่เชื้อได้อย่างทันท่วงที
ผลงานวิจัยจากมหาวิยาลัย Harvard เผยว่าการตรวจที่ทราบผลเร็วหากทำในวงกว้างด้วยความถี่สองครั้งต่อสัปดาห์นั้นสามรถลดอัตราการแพร่เชื้อหรือ R0 (R naught) ลงได้ถึง 80% แม้ว่าชุดตรวจนั้นจะเป็นชุดตรวจแบบที่มีความละเอียดอ่อนต่ำ ในขณะที่การตรวจ PCT (Polymerase Chain Reaction) สามารถลดอัตราการแพร่เชื้อลงได้เพียง 58% เนื่องด้วยระยะเวลารอผลที่นานราว 48 ชั่วโมง สรุปได้ว่าการตรวจด้วย ATK ที่รู้ผลเร็วนั้นลดอัตราการแพร่เชื้อได้ดีกว่าการตรวจด้วย PCR ที่มีความแม่นยำสูงแต่ใช้ระยะเวลารอผลนาน
อีกหนึ่งข้อดีของการตรวจที่บ้านด้วย ATK คือการจำกัดการแพร่เชื้อจากการเดินทางไป-กลับและรอผลที่จุดตรวจ เช่นเดียวกันกับการลดภาระหน้าที่ของบุคลากรทางการแพทย์ในช่วงสถานการณ์วิกฤตที่ยังคงดำเนินไปอย่างต่อเนื่องในประเทศไทย จากการที่ประเทศสโลวาเกียนั้นนำการตรวจด้วย ATK ทั่วประเทศมาปรับใช้ หากเราสามารถแยกผู้ติดเชื้อจากผู้ที่มีผลเป็นลบได้ด้วยการตรวจสองครั้งต่อสัปดาห์ จะสามารถลดการแพร่กระจายของเชื้อโควิด-19 ได้ประมาณ 70%
ภารกิจของ Thailand Recovery Fund Phase 1
โครงการ Thailand Recovery Fund เห็นถึงความสำคัญของการเข้าถึงชุดตรวจ ATK ที่ราคาถูกหรือแม้กระทั่งไม่เสียค่าใช้จ่ายเลย เพื่อแก้ปัญหาวิกฤตครั้งนี้ที่ต้นเหตุโดยการหยุดการแพร่เชื้อ เราเชื่อว่าการป้องกันการแพร่กระจายนั้นเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด และเป็นวิธีการที่จะต่อสู้กับวิกฤตนี้ได้อย่างได้ผลดีที่สุด ซึ่งจะนำพาเราไปสู่สุขภาวะและเศรษฐกิจที่ดีขึ้นได้ทั่วประเทศ
โครงการของเรามุ่งเป้าไปที่
• การแจกจ่าย ATK ไปยังประชาชน 40,000 คน
• ติดตามผลตรวจด้วย ATK ในสภาพแวดล้อมจริงเพื่อวัดผลสัมฤทธิ์ในการลดการแพร่กระจายของเชื้อโควิด-19 ในชุมชน
• เพื่อชี้ให้รัฐบาลเห็นถึงความสำคัญและประโยชน์ของการตรวจรายสัปดาห์และนำเสนอแผนการที่เหมาะสมในการยับยั้งโควิด-19
• เพื่อสนับสนุนการนำเข้า แจกจ่าย และซื้อขายชุดตรวจ ATK ในราคาที่จับต้องได้
ในการระดมทุนเพื่อจัดซื้อ ATK ครั้งนี้มีเป้าหมายเพื่อกระจายชุดตรวจให้กับประชาชนในชุมชนเปราะบางและกลุ่มคนที่มีรายได้น้อย โดยตั้งเป้าการระดมทุนเพื่อจัดซื้อชุดตรวจจำนวนรวม 200,000 ชุด
โดยในระยะแรกของการแจกชุด Antigen Test Kit จะมีการเก็บข้อมูลเพื่อโครงการ “การศึกษาผลของการใช้ชุดตรวจ ATK เพื่อตรวจหาเชื้อไวรัสซาร์ส-โควี-2 ในชุมชนกรุงเทพเพื่อป้องกันการแพร่กระจายโรค” (The impact of SARS-CoV-2 Rapid Antigen Testing Kit screening in Bangkok community to prevent outbreaks) จำนวน 200,000 ชุด โดยกลุ่มเป้าหมายใน 10 ชุมชนจะได้รับชุดตรวจคนละ 8 ชุดเพื่อตรวจ 2 ครั้ง/สัปดาห์ และกลุ่มเป้าหมายในอีก 30 ชุมชนจะได้รับชุดตรวจคนละ 4 ชุดเพื่อตรวจ 1 ครั้ง/สัปดาห์
การศึกษาชุดตรวจ Antigen Test Kit ในครั้งนี้มีกลุ่มผู้ดูแลงานวิจัยทั้งหมด 5 กลุ่มด้วยกัน
• นพ. กษิต ศักดิ์ศิริสัมพันธ์ จาก โรงพยาบาลรามาธิบดี
• Dr. Leshan Wannigama จาก จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
• นพ. กติกา อรรฆศิลป์ จาก กรมการแพทย์
• Mr. Soham Sankaran จาก Cornell University
• Zero Covid Thailand
ระบบบันทึกผลเข้าร่วมกลุ่มวิจัยโดยกลุ่ม Thai Care ที่จะเก็บข้อมูลและผลการศึกษาในครั้งนี้ตลอดระยะเวลา 2 เดือน เป้าหมายของการวิจัยในครั้งนี้คือการทำให้เกิดหลักฐานที่ชัดเจนและผลสัมฤทธิ์ของการยับยั้งการแพร่กระจายของโควิด-19 ที่จะทำให้ประเทศไทยและประเทศอื่นๆทั่วโลกนั้นสามารถนำเอาไปปรับใช้ได้อย่างเหมาะสมและสามารถหยุดการแพร่เชื้อได้ในอนาคต
การระดมทุนใน Phase 1
- ชุดตรวจ Rapid Test 200,000 ชุด
- ราคาที่คาดไว้ 50 บาท/ชุด
- เป้าหมายการระดมทุน 10,000,000 บาท
ผลจากการระดมทุน
ในตอนนี้โครงการ Thailand Recovery Fund ได้เดินหน้าบริจาค KN95 mask และชุด PPE ให้กับสถานพยาบาลทั้งในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด เพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการสนับสนุนการทำงานของหน่วยแพทย์และพยาบาลในการตรวจและรักษาผู้ป่วยที่ได้รับผลกระทบจาก Covid-19
การบริจาคอุปกรณ์ให้กับสถานพยาบาลทั้งหมด 82 ที่ ใน 32 จังหวัดทั่วประเทศไทย
- หน้ากากผ้า 6,250 อัน
- หน้ากากอนามัย 54,450 อัน
- ชุด PPE ทั้งหมด 5,450 ชุด
- เครื่องช่วยหายใจ High Flow 1 เครื่อง
นอกจากนี้ยังมีการนำเงินช่วยเหลือไปจัดซื้อเครื่องฟอกอากาศให้กับศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในจังหวัดเชียงใหม่ที่ต้องประสบปัญหาเรื่องฝุ่น PM 2.5 อีกด้วย
- เครื่องฟอกอากาศสำหรับเด็ก ๆ ในจังหวัดเชียงใหม่จำนวน 100 เครื่อง
ข้อมูลเพิ่มเติม
โครงการ Thailand Recover Fund จะถูกดำเนินการโดย Socialgiver ภายใต้การดูแลของมูลนิธิยุวพัฒน์
คุณกำลังสนับสนุนโครงการ Thailand Recovery Fund
เป็นผู้ให้ร่วมกับsocialgiver logo
ร่วมบริจาค
บัตรเครดิต
฿
หมายเลขบัตร
ชื่อผู้ถือบัตร
วันหมดอายุ
CVV

อีเมล


secured byomise logo